วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551

* Halloween *

กุ๊กๆ กู๋....ผี มาแล้ววววววว มาพร้อมกับสัปดาห์สยองขวัญ ต้อนรับเทศกาลฮาโลวีน
และแน่นอน ไหนๆ ก็เป็นสัปดาห์เทศกาลผี (หลอก) แล้ว ก็เลยขอนำเสนอเรื่องราวผีๆ ประเพณีที่แตกต่างในต่างแดนกันเลยแล้วกัน
เรามาเริ่มกันที่...


Scotland

ในสก็อตแลนด์ ความเชื่อพื้นบ้านในเรื่องของวันฮาโลวีนนั้นก็ยังคงวนอยู่กับความเชื่อของชาวเซลติกโบราณในเรื่องเทพยดานางฟ้า เด็กๆ ก็จะพากันออกเดินไปทั่ว พร้อมกับถือตะเกียงที่ทำเป็นรูปหน้าปีศาจ เพื่อเป็นการขับไล่สิ่งชั่วร้าย บางครั้งตะเกียงดังกล่าวทำมาจากหัวผักกาด โดยใส่เทียนไขไว้ข้างใน แต่ในยุคปัจจุบัน ก็หันมาใช้ฟักทองตามแบบวัฒนธรรมอเมริกาเหนือ เนื่องจากสามารถแกะสลักได้ง่ายกว่านั่นเอง
ตามบ้านเรือนก็จะได้รับการคุ้มครองจากตะเกียงนี้ด้วย ตามธรรมเนียมแบบสก็อตแลนด์หากวิญญาณต่างๆหลุดรอดผ่านโคมไฟไปได้ เจ้าของบ้านก็จะต้องให้อาหารหรือส่วนใดของบ้านให้กับวิญญาณนั้นๆ เด็กๆก็เช่นกัน จะปลอมตัวเป็นสัตว์ประหลาดเพื่อให้กลืนไปกับเหล่าวิญญาณ หากเด็กคนไหนสามารถเข้าถึงประตูบ้านได้ก็จะได้รับแจกอาหาร เป็นการขจัดวิญญาณชั่วร้ายที่ซ่อนอยู่ตามที่ต่างๆ
อีกการละเล่นที่เป็นที่นิยมคือ การรับแอปเปิ้ลด้วยปาก ภายหลังเปลี่ยนมาเป็นการคาบส้อมไว้ในปาก และปล่อยลงให้โดนผลแอปเปิ้ลแทน เนื่องจากกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับขากรรไกรนั่นเอง นอกจากนี้นยังมีเกมส์กินขนมปัง ที่ผูกเชือกห้อยจากเพดานโดยห้ามใช้มือ และพันผ้าปิดตาด้วย



USA and Canada

ปัจจุบันเทศกาลฮาโลวีนเป็นเทศกาลที่เป็นที่นิยมอันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกาในการตกแต่งประดับประดาบ้านและร้านค้า รองมาจากเทศกาลคริสต์มาส เครื่องแต่งกายที่เป็นที่นิยมที่สุดสำหรับผู้ใหญ่คือ แม่มด โจรสลัด ผีดูดเลือด แมว และตัวตลก
นิวยอร์กถือเป็นเจ้าภาพการฉลองวันฮาโลวีนที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา รู้จักกันนาม Village Halloween Parade โดยพาเรดในช่วงเย็นนั้น มีผู้เข้าร่วมถึง 2 ล้านคน และผู้ชมทางโทรทัศน์กว่า 4 ล้านคนในแต่ละปี นับเป็นงานพาเรดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
ตามเมืองต่างๆ ผู้เล่น Trick or Treat จะได้รับการต้อนรับจากบ้านที่จุดตะเกียงฟักทองตามระเบียงไว้ แต่ในบางพื้นที่จะไม่อนุญาติให้เล่นในบริเวณใกล้กับศูนย์การค้า หรือพื้นที่ที่เกิดอาชญากรรมบ่อยครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่เกิดจากความรุนแรงจากการเล่น แม้กระนั้นก็ได้มีการระบุเวลาในการเล่น เช่น 5 โมงเย็น – 1 หรือ 2 ทุ่ม เพื่อป้องกันการเล่นที่ดึกเกินไป
ในบางประเทศที่จัดงานฉลองวันฮาโลวีน มักมีกิจกรรมรอบกองไฟด้วย นอกจากนี้ยังมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น กินแอปเปิ้ลผูกเชือก ยิงปืน หาขนมที่ซ่อนอยู่ เล่าเรื่องผีพร้อมหลอกผี และกินขนมที่ทำขึ้นเอง บางครั้งก็จะเป็นการดูหนังผี
การเล่น Trick or Treat มักสิ้นสุดในตอนหัวค่ำ แต่ในบางที่ก็เล่นกันจนดึก งานเลี้ยงในชุดแต่งกายฮาโลวีน ถือเป็นโอกาสดีที่ผู้ใหญ่จะมารวมตัวกันเพื่อเข้าสังคม ตามผับ บาร์ต่างๆก็จะมีผู้มาใช้บริการที่แต่งตัวในชุดฮาโลวีน และในบางแห่งก็จัดการประกวดเพื่อเป็นการดึงความสนใจจากลูกค้า บ้านผีสิงก็เป็นหนึ่งในแหล่งที่เป็นที่นิยมในช่วงนี้
ในแถบแคนาดาตะวันตก พลุและการก่อกองไฟ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองด้วย

Australia and New Zealand

ในแถบซีกโลกใต้ จะเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิอย่างเต็มที่ในช่วง วันที่ 31 ตุลาคม เวลากลางวันจะยาวนานขึ้น และจะสว่างมากขึ้น ซึ่งก็ไม่ค่อยจะเข้ากันกับธรรมเนียมวันฮาโลวีนตามแบบชาวเซลติกโบราณ ที่จะเน้นไปที่บรรยากาศของความมืดในฤดูหนาว และการผลัดใบของใบไม้สักเท่าไหร่
วันฮาโลวีนได้รับความนิยมไม่มากในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ โดยมากล้วนมาจากอิทธิพลของสื่ออเมริกัน ทั้งจากซิทคอมและการ์ตูนซิมป์สัน จะมีเพียงบางบ้านเท่านั้นที่ร่วมเทศกาลนี้ ในคืนวันฮาโลวีน หนังสยองขวัญเอย รายการทีวีที่เน้นรูปแบบและตกแต่งไปในทางสยองขวัญเอย ต่างก็ถูกนำมาออกอากาศเป็นเรื่องปกติ และปัจจุบันผู้คนมักจะสังสรรค์ปาร์ตี้วันฮาโลวีนเสียมากกว่าเล่น Trick or Treat อย่างไรก็ตามทั้งสองอย่างก็ยังคงมีให้เห็นอยู่ แต่การเล่น Trick or Treat มักจะทำกันระหว่างญาติมิตรมากกว่า


Credit จาก www.wikipedia.org และ Dek-d.com

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551

* faire les vendanges *


faire les vendanges ( เก็บองุ่น )

* Les vendanges, un travail saisonnier un peu à part


La France est un pays vinifère et la Région Centre en est l'un de ses fleurons ! Les vendanges sont une étape essentielle qui monopolise bien du monde. Travail saisonnier typique, " faire les vendanges " demande une bonne condition physique et quelques points de droit pour que tout se passe bien avec l'employeur.


* Un contrat particulier


Le contrat " vendanges " est un contrat pour travail saisonnier. A ce titre, il prévoit une durée maximale d'un mois mais un même salarié peut conclure plusieurs contrats vendanges successifs. Cependant, le cumul des contrats ne peut excéder une durée totale de deux mois sur une année civile.

Etant par nature un contrat saisonnier, le contrat " vendanges " peut être conclu soit pour une durée déterminée, soit pour la réalisation d'un objet précis, en l'occurrence pour les vendanges Dans la majorité des cas, il sera conclu sans terme précis, c'est-à-dire que le contrat prendra fin avec la réalisation de son objet, c'est-à-dire à la fin des vendanges. Si ce sont souvent des étudiants qui font les vendanges, il faut savoir que ce travail saisonnier est également ouvert aux salariés en congés payés par dérogation à l'interdiction générale de travailler pendant les mêmes congés. Les salariés en congés payés et les fonctionnaires souhaitant utiliser cette possibilité devront bien entendu avoir obtenu l'accord de leur employeur quant à la date et à la durée de leurs congés dans les conditions habituelles. Sur ce point, il est bon de savoir que les employeurs peuvent d'ailleurs demander aux salariés qu'ils embauchent une attestation sur l'honneur de l'accord de leur employeur habituel.


* Une nature de travaux bien spécifique


Un contrat pour des vendanges conduit à des travaux bien spécifiques et en exclut d'autres. Faire les vendanges consiste donc à la cueillette du raisin, le portage des hottes et paniers, les travaux de préparation ou de rangement, la mise en état et le nettoyage des matériels nécessaires. C'est-à-dire en fait tous les travaux des préparatifs de la vendange à la réalisation des vendanges jusqu'aux travaux de rangement inclus. En revanche, n'est pas concerné l'ensemble des travaux viticoles et vinicoles et en particulier les travaux de taille ou de traitement des vignes : vous n'avez pas à exécuter ce type de travaux dans le cadre d'un contrat vendange.


** ช่วงเก็บองุ่นของประเทศฝรั่งเศสอยุ่ในช่วงนี้ค่ะ
พรุ่งนี้ก็เปิดเทอมแล้วเพื่อน ๆ เตรียมตัวกันยังเอ่ย

ไปและ บะบายจ้า