วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551

* Corrado Feroci *

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (15 กันยายน พ.ศ. 2435-14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรชี - Corrado Feroci ชาวอิตาลีสัญชาติไทย เป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทย โดยได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้ง และครูสอนศิลปะในมหาวิทยาลัยศิลปากร จนเป็นที่รักใคร่และนับถือทั้งในหมู่ศิษย์และอาจารย์ และได้รับการยกย่องเป็นปูชนียบุคคลของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีผลงานที่โดดเด่นหลายอย่างในประเทศไทย ได้แก่ พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี และ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ในเขตซานโจวันนี (San Giovanni) เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี บิดาชื่อ นาย Artudo Feroci และมารดาชื่อนาง Santina Feroci เมื่ออายุ 23 ปี สามารถสอบผ่านเป็นศาสตราจารย์ จากราชวิทยาลัยศิลปแห่งนครฟลอเรนซ์ (The Royal Academy of Art of Florence)
ปี พ.ศ. 2441 ได้เข้าศึกษาในระดับชั้นประถม หลักสูตร 5 ปี หลังจากจบหลักสูตร จึงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนระดับมัธยมอีก 5 ปี หลังจากนั้นจึงเข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะ แห่งนครฟลอเรนซ์ จบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปีในขณะที่มีอายุ 23 ปีและได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียน ซึ่งต่อมาได้สอบคัดเลือกรับปริญญาบัตรเป็นศาสตราจารย์มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์วิจารณ์ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม
ปี พ.ศ. 2466 ท่านได้ชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรป ด้วยเหตุนี้จึงเดินสู่แผ่นดินสยามเพื่อเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากร สถานแห่งราชบัณฑิตสภา
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2485 ประเทศอิตาลียอมพ่ายแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวอิตาเลียน ในประเทศไทยตกเป็นเชลยของ ประเทศเยอรมนีกับ ญี่ปุ่น แต่รัฐบาลไทยขอควบคุมตัวท่านศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี ไว้เอง และ หลวงวิจิตรวาทการ ได้ดำเนินการทำเรื่องราวขอโอนสัญชาติจากอิตาเลียนมาเป็นสัญชาติไทย โดยเปลี่ยนชื่อของท่านให้มาเป็น "นายศิลป์ พีระศรี" เพื่อคุ้มครองท่านไว้ ไม่ต้องไปถูกเกณฑ์เป็นเชลยศึกให้สร้าง ทางรถไฟสายมรณะ และ สะพานข้ามแม่น้ำแคว เมืองกาญจนบุรี
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เริ่มวางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นในระยะเริ่มแรกชื่อ " โรงเรียนประณีตศิลปกรรม" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง" และในปี พ.ศ. 2485 กรมศิลปากรได้แยกจากกระทรวงศึกษาธิการไปขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในขณะนั้นโดย ฯพณฯจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งสาขาหนึ่งของชาติ จึงได้มีคำสั่งให้ อธิบดีกรมศิลปากร ในขณะนั้นคือ พระยาอนุมานราชธน ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร และ ตรา พระราชบัญญัติ ยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมประติมากรรม เป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดสอนเพียง 2 สาขาวิชาคือ สาขา จิตรกรรม และสาขา ประติมากรรม โดยมี ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้อำนวยการสอนและดำรงตำแหน่งคณบดี คนแรก
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้ออกแบบปั้นและควบคุมการหล่อพระราชนุสาวรีย์ และอนุสาวรีย์สำคัญของประเทศไทย โดยการปั้นต้นแบบสำหรับพระปฐมบรมราชานุสรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 - 2477 อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พ.ศ. 2484 พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี และการออกแบบพระพุทธรูปปางลีลา ประธานพุทธมณฑล
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 รวมสิริอายุได้ 69 ปี 7เดือน 29 วัน

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551

* Pétanque *

Pétanque (pronounced [pe.tɑ̃k] in French) is a form of boules where the goal is to throw metal balls as close as possible to a small wooden ball called a cochonnet (jack). The game is normally played on hard dirt or gravel, but can also be played on grass or other surfaces. Sandy beaches are not suitable. Similar games are bocce and bowls.

Pétanque is generally associated with southern
France, particularly Provence, whence it originates. It is the most played sport in Marseille.[citation needed] The casual form of the game of Pétanque is played by about 17 million people in France (mostly during their summer vacations). There are about 375,000 players licensed with the Fédération Française de Pétanque et Jeu Provençal (FFPJP). The FFPJP is the 4th-largest sporting federation in France. These licensed players play a more competitive form of Pétanque known as Pétanque Sport.

เปตอง เป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่เล่นโดยการโยนลูกบอลเหล็กให้เข้าใกล้ ลูกแก่น (cochonnet) ที่ทำจากไม้ให้มากที่สุด กีฬาชนิดนี้มักเล่นบนพื้นดินแข็งหรือพื้นกรวดละเอียด แต่ไม่เหมาะกับพื้นทราย เปตองมีต้นกำเนิดจากทางภาคใต้ของประเทศฝรั่งเศส ชาวฝรั่งเศสกว่า 17 ล้านคนนิยมเล่นกีฬาชนิดนี้ในยามว่าง

La pétanque est un jeu de boules dérivé du jeu provençal. C'est le sixième sport en France par le nombre de licenciés — 367 247 joueurs recensés ; il existe de nombreuses fédérations nationales affiliés à la fédération internationale : 567 283 licenciés répartis dans 70 pays au 31.12.2006, de l'Algérie au Vietnam. À ces chiffres, il convient de rajouter les pratiquants occasionnels, en vacances notamment, c'est-à-dire plusieurs millions d'amateurs.
C'est un sport principalement masculin (seulement 14 % des licenciés sont des femmes en France). Néanmoins, c'est l'un des rares sports où des compétitions mixtes sont organisées.


la boule = ลูกกลมๆ , ลูกโบลิ่ง
provençal = ภาษามณฑลโปรวังซ์ , มณฑลโปรวังซ์
licencié = ผู้สำเร็จชั้นปริญญาโท
chiffre = ตัวเลข , จำนวนเงิน , ค่าสิ่งของ , เลขรหัส
notamment = เช่น , โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
amateur = ที่สมัครเล่น , ที่มีรสนิยม
Néanmoins = อย่างไรก็ตาม , อย่างไรก็ดี
compétition = การประกวด , การแข่งขัน
mixte = ผสมผสาน , ปนกัน
organisé = ที่จัดไว้ , จัดตั้ง

*-* เป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ ที่ไปแข่งเปตองและกิจกรรมต่างๆ ด้วยนะ

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2551

* Trick listening *

การฟังเป็นทักษะอันหนึ่งในการเรียน ที่ประกอบไปด้วยทักษะสี่อย่างคือ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ถ้าใครทำได้ดีทั้งสี่ทักษะนี่แล้วละก็เชื่อได้เลยว่า การเรียนของผู้นั้นจะต้องดีเยี่ยมไร้เทียมทานอย่างแน่นอน แต่การที่จะทำได้นั้นไม่ใช่ของง่าย และก็ไม่ใช่ยากจนเกินความสามารถ เมื่อมันคือทักษะ ดังนั้นจะเก่งได้ก็ต้องหมั่นฝึกฝนถึงจะทำได้ดี และสิ่งเหล่านี่ไม่ใช่พรสวรรค์แต่อย่างใด
มีการศึกษาวิจัยมาแล้วว่า คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าพูดถึง 4 เท่า สำหรับผู้ที่ฟังอย่างเลื่อนลอยนั้นจะได้ยินเฉพาะสิ่งที่อาจารย์พูด เขาจะพอใจแค่ยังตามอาจารย์ทันในห้องเรียนเท่านั้น นั่นคือเขาใช้ประสิทธิภาพของตัวเองเพียงแค่หนึ่งในสี่เท่านั้นเอง ! อีกสามส่วนที่เหลือ จะกลายเป็นเรื่องฝันกลางวัน เรื่องปัญหาชีวิตส่วนตัว หรือปัญหาหัวใจ ทำไมเราไม่เอาทั้งสามส่วนที่เหลือมาทุ่มกับการเรียนในห้องล่ะ เพราะมันจะทำให้เราเตรียมตัวสอบได้ง่ายและสบายขึ้นมาก ตามมาด้วยผลสอบที่น่าพึงพอใจอีกด้วย
ถ้าเราสามารถปรับพฤติกรรมของเราให้เกิดการฟังแบบกระตื้อรือร้นได้แล้วนั้น เราจะพบว่าชั่วโมงเรียนจะกลายเป็นประสบการณ์ที่น่าสนุกสนานเพลิดเพลิน หาใช่สิ่งที่น่าเบื่อหน่ายและยาวนานอีกต่อไป

ทีนี้เรามาดูเคล็ดลับของการฟังอย่างกระตือรือร้น กันเถอะ

การฟังอย่างกระตือรือร้นนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเอง แต่เราสามารถทำให้มันเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก มีเคล็ดลับอยู่นิดหน่อยเท่านั้น ถ้าเรารู้และลองทำดู เกรดที่สวย ๆ คงจะอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

1. มีพื้นฐานเรื่องที่จะฟัง
มีพื้นฐานเรื่องที่จะฟัง หมายความว่าเราต้องมีไอเดียมาก่อนบ้างว่าตอนนี้เรากำลังจะฟังเรื่องอะไร มีแนวทางบ้างนิดหน่อย นั่นคือเราต้องอ่านเนื้อหาวิชา หรือ หัวข้อมาก่อนที่จะเข้าห้องเรียน แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องรู้เรื่องนั้นอย่างดี เพราะถ้าเรารู้เรื่องดีแล้วเราจะมาฟังทำไม จริงมั้ย? การที่อ่านมาก่อนทำให้เราพอจะรู้ว่าอาจารย์จะพูดเกี่ยวกับอะไร ทำให้ตามได้ง่ายขึ้น ที่มากกว่านั้นเราจะเกิดคำถามหรือมีข้อสงสัยขึ้นตอนเราอ่านเอง และเราอาจจะพบคำตอบเมื่ออาจารย์บรรยายในห้อง หรือไม่เราก็ยกมือขึ้นถามอาจารย์ในเรื่องที่เราสงสัย ทำให้อาจารย์ประทับใจอีกต่างหาก

2. ปล่อยวางอคติใดๆ
โดยทั่วไปแล้วคนเราจะชอบหรือไม่ชอบสิ่งใดต่าง ๆ กันไป แต่เรารู้ไหมว่าการมีอคติเกี่ยวกับบางอย่างทำให้การฟังของเราอ่อนประสิทธิภาพลงได้ เช่น เราอาจไม่ชอบอาจารย์คนที่กำลังพูดอยู่ไม่ว่าในเรื่องส่วนตัว หรือไม่ชอบทรงผม เสื้อผ้าของอาจารย์ที่ทำให้เรารู้สึกขัดตา หรือไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียงวิธีการพูดของอาจารย์ที่ทำให้เราอยากหลับเหลือเกิน อย่าทำให้สิ่งเหล่านี้มารบกวนการเรียนของเราเป็นอันขาด ให้ปล่อยวางอคติต่างๆนั้นลงเสียเมื่อเข้าอยู่ในห้องเรียน พยายามใส่ใจที่เนื้อหาวิชามากกว่าที่ตัวผู้สอน บางทีอาจจะเป็นเนื้อหาวิชาที่เราไม่ชอบเสียเหลือเกิน (เราไม่ค่อยชอบเรื่องที่เรียนอยู่แล้วจริงมั้ย...?) ทำไงได้ในเมื่อเราต้องเรียน ก็ต้องทำมันให้ดีที่สุด ลืมเรื่องชอบไม่ชอบเหล่านั้นเสีย พยายามชื่นชมและใส่ใจกับมัน เมื่อเราไม่มีอคติหรือยึดติดกับเรื่องไร้สาระเหล่านี้แล้ว เราจะพบว่าการฟัง การเรียนรู้ของเรามันง่ายขึ้นมาก ลองดูสิ
3. นั่งอยู่แถวหน้า
การนั่งเรียนแถวหน้าอาจจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยสำหรับบางคน แต่บางคนก็ชอบที่จะนั่งแถวหน้าเท่านั้น เคยสงสัยไหมว่าทำไมพวกนั่งแถวหน้าถึงเรียนดี เป็นเพราะเขาเรียนดีจึงนั่งแถวหน้า หรือเป็นเพราะว่าเขานั่งแถวหน้าแล้วจึงเรียนดี อันนี้ต้องพิสูจน์ ต่อไปนี้จะพูดถึงข้อดีของการนั่งแถวหน้าดูนะ
ข้อแรก การนั่งแถวหน้าแน่นอนต้องนั่งใกล้อาจารย์ที่สุดอยู่แล้ว ทำให้เราได้ยินเสียงอาจารย์ชัดเจน ดูกระดานก็เห็นชัดไม่ต้องใช้แว่นขยาย ที่สำคัญเราได้เห็นกิริยาอาการของอาจารย์ รู้ว่าอาจารย์เน้นตรงไหนเป็นพิเศษ ลองสังเกตดู อาจารย์บางท่านจะ ขมวดคิ้ว พยักหน้า เลิกคิ้ว เมื่อพูดถึงตอนสำคัญๆ ซึ่งถ้าเรานั่งอยู่หลัง ๆ จะมองไม่เห็นแน่นอน บางทีเราอาจรู้ข้อสอบจากการนั่งแถวหน้าก็ได้
ข้อดีอีกอย่างก็คือ ไม่มีสิ่งรบกวนเรามากนัก ถ้าเรานั่งแถวหลังๆ เราจะมองอาจารย์หรือกระดานผ่านหัวเพื่อน ๆ ถ้าคนข้างหน้าเราขยับตัว เกาหัว หรือหันไปคุยกับคนข้างๆ สิ่งเหล่านี้จะรบกวนสมาธิของเราด้วย ทำให้เบนความสนใจของเราไปจากสิ่งที่อาจารย์กำลังพูดอยู่ กว่าจะพาจิตใจให้กลับมาได้อาจจะพลาดประโยคเด็ด ๆ ไปอย่างน่าเสียดาย แต่ถ้ากลัวอาจารย์จะเรียกถามละก็อย่ากังวลไปเลยเพราะอาจารย์มักจะไม่เรียกถามคนนั่งหน้าหรอก ส่วนมากแล้วอาจารย์จะเรียกถามคนที่นั่งอยู่ในระยะสายตา หรือแถวกลางๆไปจนถึงแถวหลัง ๆ มากกว่า
ความลับอีกอย่างที่คนส่วนใหญ่มองข้ามไปคือการนั่งแถวหน้าเป็นการสร้างภาพพจน์ให้ดูดีขึ้นในสายตาอาจารย์ และทำให้อาจารย์จดจำหน้าของเราได้และรู้สึกว่าเราเป็นคนที่สนใจเรียนอีกด้วย (ได้คะแนนจากตรงนี้ก็มาก) ที่สำคัญแอบหลับไม่ได้ด้วย มันทำให้เราตื่นอยู่ตลอดเวลา เป็นการบังคับตัวเองอย่างง่าย ๆ อีกวิธีหนึ่ง

4. จดบันทึก
การจดบันทึกเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ถึงแม้เราจะมีหนังสือ เอกสารพร้อมแต่เราก็ต้องจด จดอะไรล่ะ ก็จดสิ่งที่สำคัญ ๆ จากที่เราได้ฟังมานะสิ ไม่ใช่การจดทุกคำทุกตัวอักษรบนกระดานนะ แต่เป็นการจดที่ได้จากการฟัง ผ่านการกลั่นกรองจากสมองของเราระดับหนึ่งแล้วถึงจดมันลงไป การจดยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการฟังของเราอีกด้วย เพราะมันทำให้เราต้องฟังอย่างตั้งใจ ฟังอย่างวิเคราะห์ ถึงจะจดลงไปได้ พอออกจากห้องเรียนแล้ว สิ่งที่เราจดนี่แหละจะมีค่ามากหาที่ไหนไม่ได้แล้ว การจดบันทึกที่ดีเป็นศาสตร์และศิลป์ ที่ต้องศึกษาเรียนรู้และฝึกฝน เป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องที่เราควรรู้ไว้

credit - Dek-D . com

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551

Happy New Year


Happy New Year 2008 Na Ka
ปีใหม่นี้เพื่อนๆ ไปเที่ยวที่ไหนกันบ้างเอ่ย
เราไปชัยนาท
ไปบ้านญาติอ่ะ
เค้าดาวน์ที่นั่นเลย
ไปที่ร้านอาหารของลุงไปเปิดที่นั่น
ลุงเอาคาราโอเกะไปร้องด้วย
มีคนที่มากินอาหารที่แพมาร้องแจมด้วย
มันมากเลย อิอิ
ปีใหม่นี้ต๋อมก็ขอให้ทุกคนมีความสุขมากๆ นะ
มีสุขภาพที่ดี สมหวังในทุกๆ เรื่องเลย
บาย มิสๆ